ดวงตาของเราเป็นอวัยวะที่สำคัญที่มีหน้าที่ในการมองเห็น และจำเป็นต้องการมีการดูแลเป็นพิเศษ เมื่อมีการใช้สายตาแบบต่อเนื่อง เป็นเวลานานๆ ย่อมทำให้ดวงตาของเราอ่อนล้า และเสื่อมได้ก่อนวัย การดูแลสายตาของเราก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน เพื่อให้สายตาของเราแข็งแรง สดใส และอยู่ไปกับคุณได้อีกยาวนาน ดังนั้นมาพบกับเคล็ดลับในการบำรุงสายตากัน
1. รับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน
สายตาของเรานั้นจะดีได้ ก็ต้องเริ่มจากอาหาร โดยจะต้องทานให้ครบ 5 หมู่ และจะมีสารอาหารวิตามิน เกลือแร่บางชนิดที่มีส่วนช่วยบำรุงสายตาของเราอย่างเฉพาะด้าน ซึ่งจะช่วยทำให้สายตาเราแข็งแรง สามารถทำงสนได้อย่างเป็นปกติ และลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับสายตา เช่น โรคต้อ , โรคจอกระจกตาเสื่อม วิตามินที่ช่วยในการบำรุงสายตา มีดังนี้
- วิตามิน เอ – เป็นวิตามินชนิดแรกๆ ที่จะช่วยในการบำรุงสายตา ทำให้สายตาทำงานได้อย่างปกติ มีสุขภาพดี สามารถช่วยในการผลิตน้ำตา และช่วยในการยับยั้งโรคที่อาจจะเกิดกับดวงตาของเรา เช่น โรคตาบอดกลางคืน ซึ่งอาการของโรคนี้ คือ ความสามารถในการมองเห็นในเวลากลางคืนจะเสื่อมลง โรคจอตาเสื่อม โรคต้อกระจก เป็นต้น สำหรับอาหารที่สามารถพบวิตามิน เอ ได้เยอะก็ได้แก่ แครอท ผักโขม มันเทศ เนื้อไก่ ตับ ไข่
- วิตามิน บี 2 – เป็นวิตามินที่จะช่วยในการควบคุมปฎิกิริยาออกซิเดชั่น ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และช่วยรักษาปริมาณของวิตามิน บี 3 ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดโรค ต้อกระจก อาหารที่พบ วิตามินบี 2 ได้ เช่น นม ถั่ว ปลา ไข่ ธัญพืช มะเขือเทศ อัลมอนด์
- วิตามิน ซี – เป็นวิตามินที่สำคัญมากต่อร่างกายไม่ใช่แค่เพียงดวงตา ซึ่งช่วยในการสร้าง คอลลาเจน เสริมความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ สำหรับดวงตาแล้ววิตามินซี จะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจก หรือโรคจอตาเสื่อม สำหรับอาหารที่มี วิตามิน ซี เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม พริกหยวก บล็อคโคลี่ มันเทศ
- วิตามิน ดี – เป็นวิตามินที่จะได้รับจากที่ร่างกายได้สัมผัสกับแสงแดด ซึ่งมีประโยชน์กับร่างกายเป็นอย่างมาก เช่น เสริมความแข็งแรงของกระดูก ควบคุมระดับแคลเซียม สำหรับดวงตา วิตามินดี จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจก ตาย้วย ตาโป่งพอง และตาแดง
- วิตามิน อี – เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก โรคจอตาเสื่อม และต่อต้านอนุมูลอิสระ สำหรับอาหารที่พบวิตามิน อี ได้ เช่น ถั่ว ผักใบเขัยว บล็อคโคลี่ ผักโขม
2. พักสายตาบ่อยๆ
ปัจจุบันการทำงานของหลายๆ คน จะต้องนั่งอยู่ หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ อยู่แทบตลอดเวลา ซึ่งการที่ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์เหล่านี้เป็นเวลานานๆ จะไม่ดีต่อสุขภาพตา ซึ่งจะทำให้ตาล้า ตามัว ตาแห้ง ปวดศรีษะ ดังนั้นเมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเวลานานๆ ควรจะมีการพักสายตาซักครู่ และเคลื่อนไหวร่างกายบ้างไม่ควรนั่งแช่อยู่ตลอดเวลา และไม่ควรให้จออยู่ใกล้กับสายตามากเกินไป
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายโดยรวมมีรความแข็งแรงขึ้น และลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมัน ซึ่งโรคเหล่านี้เองอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับดวงตาได้อีกด้วย
4. ป้องกันดวงตาเมื่อต้องทำกิจกรรม หรืออันตราย
การทำงาน หรือกิจกรรมบางอย่าง ก็มีโอกาสความเสีย่งที่จะทำให้ดวงตาได้รับอันตราย เช่น ก่อสร้าง ตัดโลหะ การขี่มอเตอร์ไซต์ ดังนั้นเมื่อมีการทำกิจกรรมที่มีโอกาสที่จะเกิดอันตรายกับดวงตา ควรจะมีอุปกรณ์ป้องกัน สำหรับกิจกรรมเหล่านั้น เช่น หมวกที่มีที่ป้องกันด้านหน้า เพื่อลดความเสี่ยงที่สิงแปลกปลอมจะเข้ามาทำอันตรายกับดวงตาได้ เช่น ฝุ่นละออง สะเก็ดโลหะ
5. รักษาความสะอาดของอุปกรณ์ที่ต้องใช้กับดวงตาอยู่เสมอ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้กับดวงา เช่น คอนแทคเลนส์ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับผิวดวงตาโดยตรง แล้วต้องใส่ไว้เป็นเวลานานๆ ถ้าหากดูแลความสะอาดได้ไม่ดีพอ อาจจะทำให้ดวงตาของเราเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ นอกจากนี้ก็ไม่ควรใช้งานนานเกินกว่าระยะเวลา และไม่ควรใส่ข้ามวัน และใส่นอนข้ามคืนอีกด้วย
6. ลด หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่
การดื่มสุราและสูบบุหรี่ จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทจอเสื่อม โรคต้กระจก และอาจจะทำลายเส้นประสาทตาจนทำให้ตาบอดได้ในอนาคต
7. ป้องกันดวงตาเมื่อต้องไปสัมผัสกับแสงแดด
แสงแดดนั้น สามารถทำร้ายดวงตาเราได้เช่นกัน เราไม่ควรจ้องดวงอาทิตย์โดยตรง เพราะการจ้องแสงแดดโดยตรงนั้นอาจจะทำให้ ตามัว ตาพร่า เป็นต้นเหตุของโรคต้อกระจก โรคจอประสาทจอเสื่อม ดังนั้น ควรจะหาอุปกรณ์ป้องกัน ถ้าหากจำเป็นต้องไปอยู่ในสถานที่กลางแจ้งที่มีแดดจัด เช่นแว่นกันแดด ที่สามารถกรองรังสี ยูวีเอ และยูวีบี
8. เข้ารับการตรวจตาอยู่เสมอ
ควรเข้ารับการตรวจดวงตาอยู่สม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงหรือช่วยได้รู้ถึงโรคที่เกิดขึ้นกับดวงตาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะทำให้การป้องกันและรักษาเป็นไปได้อย่างง่ายขึ้น เพราะโรคเกี่ยวกับดวงตาบางชนิดในระยะเริ่มต้นจะไม่มีการแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น โรคต้อ โรคจอประสาทตาเสื่อม